Saturday, August 19, 2017

Tuesday, April 11, 2017

สวัสดี กุ๊ดจี่น้อย มือใหม่หัดเล่นหุ้น

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าเล่นหุ้นกันมายาวนาน ..มักคุ้นชินกับคำว่า "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" หรือ  มีคนเล่นหุ้นจนหมดตัว  ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับหุ้น มันต้องแสนน่ากลัวทั้งใช้เงินเยอะ และ ยากสส์

จนมีหลายๆคนกล่าวว่า มือใหม่หัดช้อนหุ้นก็เหมือนเม่าน้อย ...แมงเม่าที่รู้ว่าไฟร้อนก็ยังบินเข้ามาใกล้ ใช่ม๊า  แต่จริงๆแล้วตลาดหุ้นไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ถ้าเราศึกษาและให้เวลากับมัน

ถึงตรงนี้กุ๊ดจี่น้อย  แนะนำกันตั้งแต่เริ่มเลยดีม๊าาา
(ปล.กุ๊ดจี่ นั้นปีกแข็งกว่าแมงเม่าขึ้นมาอีกหน่อย แต่ถ้าเผลอไม่ระวังก็ปีกไหม้ได้เหมือนกัน)

เริ่มต้นเปิดพอร์ต
ไม่เริ่มก็เท่ากับถอยหลัง เคยได้ยินคำพูดนี้กันใช่มั้ย  เอาล่ะ ก่อนที่จะทำความรู้จักใดๆกับตลาดมาเป็นเจ้าของพอร์ตกันก่อน

แล้วพอร์ตไหนดี  ???
กุ๊ดจี่แบบเราก็ต้องเน้นเทรดน้อย  บางทีเทรดบ่อยด้วยความเห่อ  ควรเปิดกับพอร์ตที่ไม่มีขั้นต่ำรายวัน เทรดเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น  เพราะถ้าไปเปิดพอร์ตที่ต้องเสียขั้นต่ำก็เท่ากับเราต้นทุนสูงขึ้น โอกาสทำกำไรก็ย่อมลดลง

พอร์ตที่ไม่มีขั้นต่ำ ตอนนี้ก้มี Tisco / บัวหลวง /ไทยพานิชย์
จี่เลือกพี่ม่วงเค้าล่ะ

เนื่องจากน้องจี่ไม่มีบัญชีกับพี่ม่วงเค้าเลย  ได้เดินทางไปเปิดบัญชี และ เปิด easy banking ที่ธนาคารค่ะ ใช้เวลาราว 15-20 นาที ชิลๆๆ

เมื่อเรามีบัญชีแล้วเราก็มาเปิดลิ้งนี้
http://www.scbs.com/th/openaccount-channel
ส่วนนี่เป็นค่าธรรมเนียมในการเทรดกับพี่เค้าค่าธรรมเนียม SCB  http://www.scbs.com/th/product\
อย่าลืมเปิด e-statement เพื่อไม่มีค่าขั้นต่ำเทรดรายวัน

เปิดเข้าไปแล้วอย่าเพิ่งทำหน้านิ่วหันรีหันขวางแบบนี้ มีคนเค้ามาสอนการกรอกไว้แล้ว บอกแล้วง่ายนิดเดียว...ตามลิ้งยูทูปนี้ไปเลยจร้า

https://www.youtube.com/watch?v=gW803OWSJVE&t=157s&list=PLCF-TTPozz1SuKDuDDYg7TbzmiRqcybyq&index=1

https://www.youtube.com/playlist?list=PLCF-TTPozz1SuKDuDDYg7TbzmiRqcybyq

อ่ะคราวนี้เราก็มีบัญชีหุ้นแล้ว
ก็ต้องโหลดแอพเพื่อใช้ในการเทรด  -- Streaming

-----โอเค คราวนี้เราก็มีตัวตนแล้ว  ---ได้เวลามาศึกษาเพิ่มเติมกัน

น้องต่อสอนเบื้องต้นง่าย  เข้าใจดี มีทั้งสอนการใช้โปรแกรมเทรด และแนวคิดเบื้องต้น
https://www.youtube.com/watch?v=Q3W1fXkiHdI&list=PLtifYX3_EPITqZdYlzxc0Q9OSpPSkb1y5&index=23
หรือจะตามไปดูที่ facebook ก็ได้
https://www.facebook.com/ysocial

ทางเทคนิคเราต้องดุกราฟและค่าต่างๆ
เวบพลอตกราฟ
http://www.bidschart.com/tv/.set

http://www.setmonitor.com/company

---
แล้วจะทยอยมาลงรายละเอียดเรื่อยๆนะค้า
จนกว่าจะพบกันใหม่
บายค่ะ ซีสสสส

Thursday, March 9, 2017

คำถามือใหม่ หุ้นติอ XD เราควรทำยังไงต่อไป

อยู่หุ้นที่เราถือเกิดขึ้นตัวนี้ CR เมื่อเอาเม้าท์ไปกด  จะเจอเครื่องหมาย XD หรือ XM

ว้ายย...หุ้นช้านเป็นอะไร???

ก่อนอื่นเรามารู้จักเครื่องหมายห้อยท้ายที่อาจจะเจอบ่อยๆ กันก่อน

XD มาจาก Exclude dividends คือคนที่ถือหุ้นในวันไม่มีสิทธิรับเงินปันผล ดังนั้นถ้าเราอยากได้เงินปันผลก็ต้องซื้อก่อนเครื่องหมาย XD 

นอกจากเครื่องหมาย XD ก็ยังมีที่เจอบ่อยๆ ดังนี้

XM มาจาก Exclude meetings คือไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
XE (Excluding Exercise): แสดงการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง
XW (Excluding Warrant): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
XR (Excluding Right): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

----
เอ๊ะ...แล้วชั้นจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไหร่จะติด XD

ง่ายนิดเดียว ...เพียงเข้าไปที่ www.set.or.th
ใส่ชื่อหุ้นที่เราจะดูที่ GET Quote
จากนั้น  ดูใน ข้อมูลรายบริษัท --ข้อมูลสิทธิประโยชน์

09 มี.ค. 2560XD
วันปิดสมุดทะเบียน14 มี.ค. 2560
วันจ่ายปันผล12 พ.ค. 2560 00:00
เงินปันผล(บาท/หุ้น)0.35
รอบผลประกอบการ01 ม.ค. 2559 - 31 ธ.ค. 2559
เงินปันผลจากปันผลจากกำไรสุทธิ
หมายเหตุ

ว้ายๆ คำถามต่อมาคือ ขายหุ้นวันที่ติด XD จะได้ปันผลไหม
--
คำตอบคือได้สิ  เช่น 
หุ้น  Zebra  ติดเครื่องหมาย  XD 14 มีนาคม  นั่นหมายความว่าในวันที่ 14 มีนาคม แม้เราจะขายหุ้นทิ้ง เราก็ยังได้ปันผลในวันที่ 12 พฤาภาคม อยู่ดี

-----

คำถามสุดท้าย  จริงๆแล้วเราควรขายหุ้นทิ้งหรือเก็บหุ้นต่อดี

ก่อนอื่นเราต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่า
เราจะลงทุนแบบเก็งกำไรระยะสั้น  หรือลงทุนระยะยาว

เก็งกำไรระยะสั้น  
หุ้นปันผลดีราคามักขึ้นก่อนประกาศ XD ก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งชอบไปซื้อหุ้นปันผลดีๆ ดักไว้ก่อนวันขึ้นเครื่องหมายซัก 2-4 สัปดาห์ โดยคาดหวังว่าเดี๋ยวราคามันก็ขึ้น  แล้วก็รอขายทำกำไรก่อนที่จะประกาศ XD 1-3 วัน  แต่แบบนี้จะไม่ได้เงินปันผลน้า...หวังกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นเพียงอย่างเดียว

เพราะถ้ามัวมารอขายวันที่ประกาศราคาหุ้นมักจะตกลงมาเท่าๆกับราคาเงินปันผลที่จ่ายออกไป
ตัวอย่าง ถ้าวัน ก่อนขึ้น xd สมมติราคา อยู่ที่ 2.80 บาท 
ราคาหลัง xd จะอยู่ประมาณ (4000x 2.80) / 5000 = 2.24 >> 2.24-0.025
= 2.22 บาท โดยประมาณนะจ้ะ

ลงทุนระยะยาว
อย่างน้อย 1-2 ปี อาจจะไม่ต้องสนอะไร 

แต่พึงระลึกเสมอว่าการลงทุนใน หุ้น ปันผล ดี หรือ หุ้นที่ให้เงินปันผลอย่างสม่ำเสมอนั้น บางครั้งการดูแต่เพียงเงินปันผลก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป

2 ข้อ อย่าทำ!!!!  ก่อนการประกาศปันผล

1. อย่า!!!ซื้อหุ้นก่อนวันประกาศปันผล  เพียง 1-2 วัน เพื่อกะจะเอาปันผล

เพราะเมื่อปันผลแล้วราคาหุ้นจะลดลง พอๆกับราคาปันผล ทำให้เม่าน้อยที่ชิงขายทันที่วันที่ติด XD หุ้นซึ่งปรับตัวลดลงมาก  กลับกลายเป็นขาดทุนจากส่วนต่างของราคา แทนที่จะได้กำไรจากการปันผล

เช่นหุ้น Zebra จะมีการจ่ายเงินปันผลที่ 0.5 บาท ต่อหุ้น และจะขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 4 มีนาคม 2554 เม่าน้อยต้องการซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล จึงเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวในวันที่ 3 มีนาคม 2554 แต่ในวันที่ 4 มีนาคม ราคาหุ้นปรับตัวลงถึง 0.6 บาท ทำให้เม่าน้อยตกใจและรีบขายหุ้นดังกล่าวออกไป สรุปแล้วนายมือใหม่ขาดทุน 0.1 บาทต่อหุ้น (นี่ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิสชั่น)

สิ่งที่อาจจะทำได้ คือ หุ้นปันผลดีราคามักขึ้นก่อนประกาศ XD ก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งชอบไปซื้อหุ้นปันผลดีๆ ดักไว้ก่อนวันขึ้นเครื่องหมายซัก 2-4 สัปดาห์ เดี๋ยวมันก็ขึ้น  แล้วก็รอขายทำกำไรก่อนที่จะประกาศ XD 2-5 วัน  แต่แบบก็ชวดเงินปันผลไปแทน

2. อย่า!!! ถือหุ้นปันผลผลตัวเดิมต่อไปเรื่อยเพราะคิดว่าเคยได้ปันผลที่สูงมาเสมอ โดยไม่ได้ติดตามความเป็นไปของบริษัท  ทั้งผลกำไรของบริษํท การเปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินปันผล ซึ่งอาจเกิดจากเปลี่ยนผู้บริหาร  หรือเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ ซึ่งอาจมีกำไรพิเศษ ที่อาจจะได้สูงกว่าปีอื่นๆ หรืออาจจะมีกำไรที่ลดฮวบๆถ้าเทียบกับปีอื่นก็เป็นได้

-------


Monday, March 6, 2017

เครื่องหมาย ca เล็กๆหลังหุ้น คืออะไร ??


CA มาจาก Corporate Action  
คือ บริษัทจดทะเบียนประกาศดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เราเจอบ่อย ๆ ก็พวก XD, XM นั่นเอง

ลองเอาเม้าท์ไปวาง ก็จะขึ้นเครื่องหมายด้านล่างเหล่านี้เลยค่ะ

XD (Excluding Dividend): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล
XR (Excluding Right): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่
XW (Excluding Warrant): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น
XT (Excluding Transferable Subscription Right): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
XI (Excluding Interest): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย
XP (Excluding Principal): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น
XA (Excluding All): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น
XE (Excluding Exercise): แสดงการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง
XM (Excluding Meetings): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
XN (Excluding Capital Return): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน
XB (Excluding Other Benefit): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ ในกรณีต่อไปนี้
- สิทธิจองซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ
- สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ
- สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering) โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท
- สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในเครือ

ที่มา -- http://www.set.or.th/set/xcalendar.do?language=th&country=TH

Sunday, March 5, 2017

LTF 2560 เลือกกองทุนไหนดี

ใกล้ผ่านพ้นไตรมาสแรกกันแล้ว ... ใครที่วางแผนทะยอยเก็บ LTF  มาดูกัน
...ตัวไหนน่าสนใจบ้าง 

10 อันดับ กองทุน LTF เนื้อหอม
( 6/03/2560 )


1. KFLTFA50-D 

ชื่อเต็มๆคือ  Krungsri active SET50 Dividened  LTF  ของธนาคารกรุงศรี
กองนี้มีปัญผลด้วยนะเออ ปันผลทุกเดือนกุมภาพันธ์  ล่าสุดปันผล 1.0 ต่อหน่อย
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  0.94% /  3 เดือน  5.64% /6 เดือน  14.49%   และ 1 ปี  24.05%

2.  B-LTF

ชื่อเต็มๆคือ  Bualuang Long-Term equity  ของธนาคารกรุงเทพ
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -1.15% /  3 เดือน  0.63% /6 เดือน  4.46%   และ 1 ปี  19.51%

3. PHATHRA LYFD

ชื่อเต็มๆคือ  PHATHRA LONG TERM DIVIDEND FUND
กองนี้มีปัญผลด้วยนะเออ ปันผลทุกเดือนกันยายน   ล่าสุดปันผล 0.8 ต่อหน่อย
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -0.64% /  3 เดือน  3.054% /6 เดือน  8.99%   และ 1 ปี  18.99%

4. 1S-LTF

ชื่อเต็มๆคือ  1 A.M. Selective Long Term Equity Fund  ของบริษัท  One Asset
กองนี้มีปัญผลด้วยนะเออ ปันผลทุกเดือนตุลาคม   ล่าสุดปันผล 0.57 ต่อหน่อย
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -0.08% /  3 เดือน  0.76% /6 เดือน  1.24%   และ 1 ปี  3.1%

5. K20SLTF

ชื่อเต็มๆคือ   K20 Select LTF ของธนาคาร กสิกรไทย
กองนี้มีปัญผลด้วยนะเออ ปันผลทุกเดือนสิงหาคม  ล่าสุดปันผล 0.77 ต่อหน่อย
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -1.72% /  3 เดือน  -1.39% /6 เดือน  9.40%   และ 1 ปี  17.22%

6. 1SG-LTF 

ชื่อเต็มๆคือ  1 A.M. Selective  Growth Long Term Equity Fund  ของบริษัท  One Asset
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -0.40% /  3 เดือน  3.58% /6 เดือน  6.05%   และ 1 ปี  17.17%

7.CIMB-PRINCIPLE

ชื่อเต็มๆคือ  CIMB-PRINCIPLE LIFE LONG TERM EQUITY FUND ของบริษัท  CIMB
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -0.77% /  3 เดือน  3.41% /6 เดือน  5.71%   และ 1 ปี  16.54%

8. BLTF75

ชื่อเต็มๆคือ  Bualuang Long-Term equity Fund 75/25  ของธนาคารกรุงเทพ
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -0.91% /  3 เดือน  0.26% /6 เดือน  3.67%   และ 1 ปี  16.53%

9.KEFTFEQ

ชื่อเต็มๆคือ  Krungsri EQUITY LTF  ของธนาคารกรุงศรี
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -0.66% /  3 เดือน  2.13% /6 เดือน  145.05%   และ 1 ปี  16.11%

10. MIF-LTF

ชื่อเต็มๆคือ  MFC Islamic Long Term Equity Fund  ของบริษัท  MFC Asset
ผลตอบแทนที่ผ่านมา
1 เดือน  -1.99% /  3 เดือน  0.55% /6 เดือน  1.08%   และ 1 ปี  15.95%

เป็นไงค่ะ ครบทั้ง 10 อันดับจะเห็นว่าตัวที่ติดอันดับท็อปเมื่อปีก่อนๆ ตกลงไปมาก และมีกองทุนใหม่ๆหลายตัวเชข้าชิงในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ก่อนการซื้อกองทุนอย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมนะคะ เพราะข้อความนี้เป็นเพียงความเห็นบางส่วนเท่านั้น


ขอบคุณที่มาจาก Thai Funds Today แอพพลิเคชั่น

Sunday, February 26, 2017

คิดภาษี 40 (6)

เมื่อไหร่จะเข้าข่าย วงเล็บ 6 ---นี่น่าจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในหัวเมื่อต้องจ่ายภาษี

แน่ล่ะวงเล็บ 6 นี้เอาเงินได้มาคิดภาษีเพียง 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น เรียกว่าลดฐานภาษีไปได้มากโข

------------------

เริ่มกันที่คิดเงินได้ ก็คือรายได้โดยรวมทั้งปี

หลังจากนั้นก้เอามาหักค่าลดหย่อนต่างๆ  แล้วยื่นภาษีทางเน็ตได้เลย

http://www.rd.go.th/publish/43571.0.html

เดี่ยวนี้เค้าสนับสนุนให้ยื่นทางอินเตอร์เนตเพื่อลดภาวะเอกสาร และสะดวกแก่ผู้จ่ายภาษี

แต่อย่างไรก็ดีต้องเก็บเอกสารไว้อย่างน้อย 5-10 ปีนะคะ เพราะทางสรรพากรอาจทำการสุ่มตรวจเพื่อขอดูเอกสารชี้แจงค่ะ

***ข้อดีของทางอินเตอร์เนตนั้นจะยืดเวลาให้มากกว่ายื่นโดยตรงอีกประมาณ 7 วัน แล้วแต่ปีด้วยค่ะ

--------------------------

ภาษีที่จ่ายกันบ่อยก็จะเป็น

ภงด.91 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้ เป็น เงินเดือน อย่างเดียว (ยื่นเสียภาษี 1 ครั้งต่อปี)

ภงด.90 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้หลายแบบ เช่น เงินเดือน ค่าอยู่เวร เปิดคลินิก
 (ยื่นเสียภาษี 2 ครั้งต่อปี)

ส่วนเรื่อง 40 วงเล็บต่าง ๆ 
40 (1) คือ ภาษีหมวดเงินเดือน หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
40 (2) เป็นหมวดเงินตอบแทนอย่างค่าอยู่เวรเหมารายเวร รายชั่วโมง
40 (6) เป็นหมวดสำหรับการประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์จะหักค่าใช้จ่ายได้ 60% 

หลักการคิดว่า วงเล็บไหน ก็คือ ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า “รัฐ” จึงให้หักต้นทุน ได้มากกว่า 

ตามมาตรา 40(6) ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ (หักค่าใช้จ่ายได้ 60%) เนื่องจาก เป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า จึงให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่มาตรา 40(1) 40(2) ทำงานรับเงินจากรัฐ หรือ นายจ้าง ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ความเสี่ยงก็น้อยกว่า จึงหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า (หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท)

ใน รพ.เอกชน ตอนนี้ สรรพากร จะให้เป็น 40(1) , 40(2) ที่หักค่าใช้จ่ายได้ 40% เนื่องจาก ไม่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุน ( ไม่ได้เป็นเจ้าของ) ยกเว้นทำเป็นหนังสือสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เนื่องจากการตีความของสรรพากรในแต่ละจังหวัดอาจไม่เหมือนกัน คงต้องสอบถามกับเพื่อนแพทย์ในจังหวัดเดียวกันด้วยว่าเสียภาษีอย่างไร



ที่มา---http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1329207530


แพทย์กับการเสียภาษีที่ถูกต้อง


เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ในการตรวจและแนะนำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินดังกล่าว ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอซ้อมความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้


1. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินตามมาตรา 50(1)


2. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแยกเป็น 2 กรณีดังนี้


(1) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะ ในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษา

ผู้ป่วย โดยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้จากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายล ักษณ์อักษร

(2) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะ ในนามของผู้ได้รับอนุญาต เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนผู้ได้รับอนุญาตให้ประก อบโรคศิลปะ แล้วนำมาจ่ายให้กับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เพื่อแบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป


ทั้งกรณี (1) และ (2) ให้ถือว่าเงินที่ผู้ได้รับอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ป่วย ทั้งจำนวน เป็นเงินได้

พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ มิใช่เฉพาะประมวลเงินส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออกแล ้ว


3. กรณีตาม 2 เนื่องจากสถานพยาบาลมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 7 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่องสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และไม่ต้องกรอกรายการจ่ายเงินดังกล่าวในบัญชีพิเศษตามประกาศอธิบดีกรมสรรพาก รเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 6 กันยายน 2522



ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์

อธิบดีกรมสรรพากร





เวบไซต์

http://pantip.com/topic/31046925

Tuesday, February 21, 2017

LTF ขายได้เมื่อไหร่ นับวันถอนอย่างไร



---เมื่อไหร่จะขายได้---










ต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบ 5 ปีปฏิทิน (วันเดือนไหนก็นับเหมือนกันค่ะ)







ยกตัวอย่าง






ซื้อ LTF เมื่อ 2 กุมพาพันธ์ 2553 ---> จะขายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ค่ะ







ซื้อ LTF เมื่อ 2 ธันวาคม 2553 ---> จะขายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 เหมือนกันค่ะ









ซื้อ LTF เมื่อ 2 กุมพาพันธ์ 2550 ---> จะขายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ค่ะ













ส่วนการขายนั้นเราอาจะรอดูช่วงเวลาที่ตลาดขึ้นแล้วค่อยทิ้งก็ได้ค่ะ


ทั้งนี้ "กำไร"ที่ได้จากการขายก็ได้รับยกเว้น "ภาษี" ค่ะ









---ขายทางไหนได้บ้าง---





สามารถไปขายที่ธนาคารโดยตรง หรือบางธนาคารให้ขายผ่านทาง Easy net ได้ค่ะ
และขายเฉพาะรายการที่ครบกำหนดข้างต้นเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะผิดหลักเกณฑ์การลดหย่อยภาษี คราวนี้โดนเรียกภาษีคืน แย่แน่ค่ะ





---ขายผิดเงื่อนไข ทำไงดี---








ตัวอย่าง -- ขาย LTF ที่เพิ่งซื้อในปีนี้





หากผู้ลงทุนได้ซื้อ LTF ในปีนี้เป็นปีแรก เมื่อขาย LTF ออกไปในปีเดียวกับปีที่ซื้อ


และไม่เคยมีการซื้อมาก่อนหน้านี้


สิ่งที่ได้รับจากการขายคือ กำไรหรือขาดทุนจากการขาย


หากได้รับกำไร ผู้ลงทุนต้องนำกำไรที่ได้รับมารวมคำนวณเป็นเงินได้ในปีที่ขายด้วย ทั้งนี้ จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 3% ของกำไร นำส่งให้กับกรมสรรพากร






----เช่น ซื้อ LTF 100,000 บาท เดือน เมษายน 2555 ขายคืน ธันวาคม 2555 ได้รับเงินมา 120,000


หักภาษี ณที่จ่าย 20,000 x 3% --> เหลือ 119,400


กำไรที่ได้ 20,000 ต้องเอาไปรวมคิดเงินได้ปลายปีด้วย








ทั้งนี้ หากเป็นการซื้อกองทุนเปิดทั่วไป เงินได้จากการขายคืนจะไม่ถูกนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนคือ กำไรจากการขายจำนวน 20,000 บาท ไปเต็มจำนวน



ตัวอย่าง ขายคืน LTF ที่ได้ใช้สิทธิทางภาษีไปแล้ว


ถ้าหากเคยซื้อ LTF มาแล้วในปีก่อนหน้า เช่นปี 2554
และในปี 2555 ได้ทำการขายคืน จะถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนทันที

เพราะ LTF มีเงื่อนไขว่าเมื่อลงทุนแล้วจะต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5ปีปฏิทิน

--เช่นซื้อ LTF จำนวน 100,000 บาทในปี 2554 เมื่อเดือนมีนาคมปี 2555 ได้นำไปลดหย่อนภาษีได้รับเงินภาษีคืนจำนวน 30,000 บาท (ฐานภาษี 30%)
เดือนตุลาคม ปี 2555 ตลาดหุ้นปรับตัวสูงกว่า 1,300 จุด

จึงได้ตัดสินใจขายหน่วยลงทุนที่ได้ลงทุนเมื่อปีที่ผ่านมาไป ได้เงินมาทั้งสิ้น120,000 บาท เมื่อได้รับเงินจริงจะเท่ากับ 119,400 บาท

เนื่องจากนายทะเบียนได้หักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 600 บาท (20,000 x 3%)


สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้ขายคืน LTF ผิดเงื่อนไข มีดังต่อไปนี้ค่ะ

รีบคืนภาษีที่ได้รับเมื่อต้นปี 2555 ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะให้กรอกแบบภงด. ใหม่

เพื่อคำนวณภาษีที่ควรเสียหากไม่ได้ลงทุนในกองทุน LTF เพื่อลดหย่อนภาษี







---จากตัวอย่าง หากไม่ลงทุนในLTF แล้วจะต้องเสียภาษีอีกจำนวน 30,000 บาท

(สมมติฐานภาษี 30%) ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวต้องคืน

และเสียเงินเพิ่มอีกจำนวนร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนับจากวันที่ 1 เมษายน 2555

ถึงเดือนที่ยื่นคืนกรมสรรพากร


ดังนั้นหากขายคืนเดือนตุลาคม 2555 ให้รีบยื่นภาษีใหม่ทันที
เท่ากับต้องเสียเงินเพิ่มอีกจำนวน 3,150 บาท ( 30,000 x 1.5% x 7 เดือน) (เมษายน – ตุลาคม)

และกำไรที่ได้รับจากการขายคืนจำนวน 20,000 บาท ให้นำมารวมเป็นเงินได้ในปี 2555 เพื่อคำนวณภาษีเช่นเดียวกับตัวอย่างแรก


ตัวอย่างที่ ขายคืน LTF ของปีที่ลงทุนล่าสุด โดยเคยลงทุนและใช้สิทธิภาษีมาแล้ว

ตัวอย่าง ซื้อปี 2553 ปี 2554 และปี 2555 และได้มีการขายคืนเฉพาะที่ได้ซื้อในปี 2555


หากซื้อปีละ 100,000 บาท และได้รับภาษีคืนปีละ 30,000 บาท สำหรับการลงทุนในปี 2553 และ2554 ส่วนปี 2555 ยังไม่ได้ยื่นเพื่อลดหย่อนภาษีและได้มีการขายคืนไปก่อน จะถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน (สมมติว่าขายได้เงินจำนวน 120,000 บาท)

เพราะ LTF มีเงื่อนไข FIFO (First In First Out)





ซึ่งหมายถึง เมื่อมีการขายคืน LTF จะเป็นลักษณะของการขายคืนก้อนแรกก่อนเสมอ






ซึ่งจะถือว่าเป็นการขายของปี 2553 ซึ่งยังไม่ครบ 5 ปีปฏิทิน จึงผิดเงื่อนไขการลงทุน

ต้องคืนสิทธิทางภาษีที่ได้รับดังตัวอย่างที่ 2 แต่ทั้งนี้

ในส่วนของเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 จะถูกคำนวณตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปี2554

ดังนั้นหากขายคืนเดือนตุลาคม 2555 ให้รีบยื่นภาษีใหม่ทันที


ต้องเสียเงินเพิ่มอีกจำนวน 8,550 บาท ( 30,000 x 1.5% x 19 เดือน) (เมษา ปี54 – ตุลาปี55)

และกำไรที่ได้รับจากการขายคืนจำนวน 20,000 บาท
ให้นำมารวมเป็นเงินได้ในปี 2555 เพื่อคำนวณภาษีเช่นเดียวกับตัวอย่างแรก









ข้อมูลจากเรื่องขายผิดเงื่อนไข --อรพรรณ บัวประชุม, CFP

ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วน ธนาคารกสิกรไทย



http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A3_005.aspx





ทั้งนี้"กำไร"ที่ขาย LTF ในปีที่ครบเกณฑ์ตามเงื่อนไขนั้น


จะต้องเอาไปกรอกในในภาษีด้วย


หลายคนอาจจะสงสัยว่าไหนว่ายกเว้นแล้วทำไมต้องกรอก

ใน ภงด 90 จะมีช่องกรอกกำไรเฉพาะสำหรับ LTF


ทั้งนี้การกรอกในส่วนนี้ เนื่องจากยกเว้นภาษี จึงไม่ต้องนำมาคิด

แต่สามารถขยายฐานของคนที่ต้องการซื้อ LTF เพิ่มขึ้นได้อีก 15 %



ชอบที่ผู้เขียนเขียนว่า

"ถ้ามีคนมาถามว่า LTF ขายแล้วไปไหน

--ก็ให้ตอบว่าขายแล้วก็ไปลดหย่อยภาษีได้อีกนะตัวเทอว์'

ที่มา -- http://tax.bugnoms.com/tax/ltf-never-die/



****ตั้งแต่ปี 2559 มีการขยายรอบการถือ LTF ให้นานขึ้นเป็นเจ็ดปี หลักการนับก็เหมือนห้าปีเพียงแต่ถือยาวไปอีกสองปีปฏิทินเท่านั้น*****