Sunday, February 26, 2017

คิดภาษี 40 (6)

เมื่อไหร่จะเข้าข่าย วงเล็บ 6 ---นี่น่าจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในหัวเมื่อต้องจ่ายภาษี

แน่ล่ะวงเล็บ 6 นี้เอาเงินได้มาคิดภาษีเพียง 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น เรียกว่าลดฐานภาษีไปได้มากโข

------------------

เริ่มกันที่คิดเงินได้ ก็คือรายได้โดยรวมทั้งปี

หลังจากนั้นก้เอามาหักค่าลดหย่อนต่างๆ  แล้วยื่นภาษีทางเน็ตได้เลย

http://www.rd.go.th/publish/43571.0.html

เดี่ยวนี้เค้าสนับสนุนให้ยื่นทางอินเตอร์เนตเพื่อลดภาวะเอกสาร และสะดวกแก่ผู้จ่ายภาษี

แต่อย่างไรก็ดีต้องเก็บเอกสารไว้อย่างน้อย 5-10 ปีนะคะ เพราะทางสรรพากรอาจทำการสุ่มตรวจเพื่อขอดูเอกสารชี้แจงค่ะ

***ข้อดีของทางอินเตอร์เนตนั้นจะยืดเวลาให้มากกว่ายื่นโดยตรงอีกประมาณ 7 วัน แล้วแต่ปีด้วยค่ะ

--------------------------

ภาษีที่จ่ายกันบ่อยก็จะเป็น

ภงด.91 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้ เป็น เงินเดือน อย่างเดียว (ยื่นเสียภาษี 1 ครั้งต่อปี)

ภงด.90 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้หลายแบบ เช่น เงินเดือน ค่าอยู่เวร เปิดคลินิก
 (ยื่นเสียภาษี 2 ครั้งต่อปี)

ส่วนเรื่อง 40 วงเล็บต่าง ๆ 
40 (1) คือ ภาษีหมวดเงินเดือน หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
40 (2) เป็นหมวดเงินตอบแทนอย่างค่าอยู่เวรเหมารายเวร รายชั่วโมง
40 (6) เป็นหมวดสำหรับการประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์จะหักค่าใช้จ่ายได้ 60% 

หลักการคิดว่า วงเล็บไหน ก็คือ ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า “รัฐ” จึงให้หักต้นทุน ได้มากกว่า 

ตามมาตรา 40(6) ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ (หักค่าใช้จ่ายได้ 60%) เนื่องจาก เป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า จึงให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่มาตรา 40(1) 40(2) ทำงานรับเงินจากรัฐ หรือ นายจ้าง ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ความเสี่ยงก็น้อยกว่า จึงหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า (หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท)

ใน รพ.เอกชน ตอนนี้ สรรพากร จะให้เป็น 40(1) , 40(2) ที่หักค่าใช้จ่ายได้ 40% เนื่องจาก ไม่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุน ( ไม่ได้เป็นเจ้าของ) ยกเว้นทำเป็นหนังสือสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เนื่องจากการตีความของสรรพากรในแต่ละจังหวัดอาจไม่เหมือนกัน คงต้องสอบถามกับเพื่อนแพทย์ในจังหวัดเดียวกันด้วยว่าเสียภาษีอย่างไร



ที่มา---http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1329207530


แพทย์กับการเสียภาษีที่ถูกต้อง


เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ในการตรวจและแนะนำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินดังกล่าว ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอซ้อมความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้


1. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินตามมาตรา 50(1)


2. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแยกเป็น 2 กรณีดังนี้


(1) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะ ในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษา

ผู้ป่วย โดยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้จากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายล ักษณ์อักษร

(2) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะ ในนามของผู้ได้รับอนุญาต เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนผู้ได้รับอนุญาตให้ประก อบโรคศิลปะ แล้วนำมาจ่ายให้กับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เพื่อแบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป


ทั้งกรณี (1) และ (2) ให้ถือว่าเงินที่ผู้ได้รับอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ป่วย ทั้งจำนวน เป็นเงินได้

พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ มิใช่เฉพาะประมวลเงินส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออกแล ้ว


3. กรณีตาม 2 เนื่องจากสถานพยาบาลมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 7 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่องสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และไม่ต้องกรอกรายการจ่ายเงินดังกล่าวในบัญชีพิเศษตามประกาศอธิบดีกรมสรรพาก รเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 6 กันยายน 2522



ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์

อธิบดีกรมสรรพากร





เวบไซต์

http://pantip.com/topic/31046925

Tuesday, February 21, 2017

LTF ขายได้เมื่อไหร่ นับวันถอนอย่างไร



---เมื่อไหร่จะขายได้---










ต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบ 5 ปีปฏิทิน (วันเดือนไหนก็นับเหมือนกันค่ะ)







ยกตัวอย่าง






ซื้อ LTF เมื่อ 2 กุมพาพันธ์ 2553 ---> จะขายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ค่ะ







ซื้อ LTF เมื่อ 2 ธันวาคม 2553 ---> จะขายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 เหมือนกันค่ะ









ซื้อ LTF เมื่อ 2 กุมพาพันธ์ 2550 ---> จะขายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ค่ะ













ส่วนการขายนั้นเราอาจะรอดูช่วงเวลาที่ตลาดขึ้นแล้วค่อยทิ้งก็ได้ค่ะ


ทั้งนี้ "กำไร"ที่ได้จากการขายก็ได้รับยกเว้น "ภาษี" ค่ะ









---ขายทางไหนได้บ้าง---





สามารถไปขายที่ธนาคารโดยตรง หรือบางธนาคารให้ขายผ่านทาง Easy net ได้ค่ะ
และขายเฉพาะรายการที่ครบกำหนดข้างต้นเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะผิดหลักเกณฑ์การลดหย่อยภาษี คราวนี้โดนเรียกภาษีคืน แย่แน่ค่ะ





---ขายผิดเงื่อนไข ทำไงดี---








ตัวอย่าง -- ขาย LTF ที่เพิ่งซื้อในปีนี้





หากผู้ลงทุนได้ซื้อ LTF ในปีนี้เป็นปีแรก เมื่อขาย LTF ออกไปในปีเดียวกับปีที่ซื้อ


และไม่เคยมีการซื้อมาก่อนหน้านี้


สิ่งที่ได้รับจากการขายคือ กำไรหรือขาดทุนจากการขาย


หากได้รับกำไร ผู้ลงทุนต้องนำกำไรที่ได้รับมารวมคำนวณเป็นเงินได้ในปีที่ขายด้วย ทั้งนี้ จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 3% ของกำไร นำส่งให้กับกรมสรรพากร






----เช่น ซื้อ LTF 100,000 บาท เดือน เมษายน 2555 ขายคืน ธันวาคม 2555 ได้รับเงินมา 120,000


หักภาษี ณที่จ่าย 20,000 x 3% --> เหลือ 119,400


กำไรที่ได้ 20,000 ต้องเอาไปรวมคิดเงินได้ปลายปีด้วย








ทั้งนี้ หากเป็นการซื้อกองทุนเปิดทั่วไป เงินได้จากการขายคืนจะไม่ถูกนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนคือ กำไรจากการขายจำนวน 20,000 บาท ไปเต็มจำนวน



ตัวอย่าง ขายคืน LTF ที่ได้ใช้สิทธิทางภาษีไปแล้ว


ถ้าหากเคยซื้อ LTF มาแล้วในปีก่อนหน้า เช่นปี 2554
และในปี 2555 ได้ทำการขายคืน จะถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนทันที

เพราะ LTF มีเงื่อนไขว่าเมื่อลงทุนแล้วจะต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5ปีปฏิทิน

--เช่นซื้อ LTF จำนวน 100,000 บาทในปี 2554 เมื่อเดือนมีนาคมปี 2555 ได้นำไปลดหย่อนภาษีได้รับเงินภาษีคืนจำนวน 30,000 บาท (ฐานภาษี 30%)
เดือนตุลาคม ปี 2555 ตลาดหุ้นปรับตัวสูงกว่า 1,300 จุด

จึงได้ตัดสินใจขายหน่วยลงทุนที่ได้ลงทุนเมื่อปีที่ผ่านมาไป ได้เงินมาทั้งสิ้น120,000 บาท เมื่อได้รับเงินจริงจะเท่ากับ 119,400 บาท

เนื่องจากนายทะเบียนได้หักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 600 บาท (20,000 x 3%)


สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้ขายคืน LTF ผิดเงื่อนไข มีดังต่อไปนี้ค่ะ

รีบคืนภาษีที่ได้รับเมื่อต้นปี 2555 ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะให้กรอกแบบภงด. ใหม่

เพื่อคำนวณภาษีที่ควรเสียหากไม่ได้ลงทุนในกองทุน LTF เพื่อลดหย่อนภาษี







---จากตัวอย่าง หากไม่ลงทุนในLTF แล้วจะต้องเสียภาษีอีกจำนวน 30,000 บาท

(สมมติฐานภาษี 30%) ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวต้องคืน

และเสียเงินเพิ่มอีกจำนวนร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนับจากวันที่ 1 เมษายน 2555

ถึงเดือนที่ยื่นคืนกรมสรรพากร


ดังนั้นหากขายคืนเดือนตุลาคม 2555 ให้รีบยื่นภาษีใหม่ทันที
เท่ากับต้องเสียเงินเพิ่มอีกจำนวน 3,150 บาท ( 30,000 x 1.5% x 7 เดือน) (เมษายน – ตุลาคม)

และกำไรที่ได้รับจากการขายคืนจำนวน 20,000 บาท ให้นำมารวมเป็นเงินได้ในปี 2555 เพื่อคำนวณภาษีเช่นเดียวกับตัวอย่างแรก


ตัวอย่างที่ ขายคืน LTF ของปีที่ลงทุนล่าสุด โดยเคยลงทุนและใช้สิทธิภาษีมาแล้ว

ตัวอย่าง ซื้อปี 2553 ปี 2554 และปี 2555 และได้มีการขายคืนเฉพาะที่ได้ซื้อในปี 2555


หากซื้อปีละ 100,000 บาท และได้รับภาษีคืนปีละ 30,000 บาท สำหรับการลงทุนในปี 2553 และ2554 ส่วนปี 2555 ยังไม่ได้ยื่นเพื่อลดหย่อนภาษีและได้มีการขายคืนไปก่อน จะถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน (สมมติว่าขายได้เงินจำนวน 120,000 บาท)

เพราะ LTF มีเงื่อนไข FIFO (First In First Out)





ซึ่งหมายถึง เมื่อมีการขายคืน LTF จะเป็นลักษณะของการขายคืนก้อนแรกก่อนเสมอ






ซึ่งจะถือว่าเป็นการขายของปี 2553 ซึ่งยังไม่ครบ 5 ปีปฏิทิน จึงผิดเงื่อนไขการลงทุน

ต้องคืนสิทธิทางภาษีที่ได้รับดังตัวอย่างที่ 2 แต่ทั้งนี้

ในส่วนของเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 จะถูกคำนวณตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปี2554

ดังนั้นหากขายคืนเดือนตุลาคม 2555 ให้รีบยื่นภาษีใหม่ทันที


ต้องเสียเงินเพิ่มอีกจำนวน 8,550 บาท ( 30,000 x 1.5% x 19 เดือน) (เมษา ปี54 – ตุลาปี55)

และกำไรที่ได้รับจากการขายคืนจำนวน 20,000 บาท
ให้นำมารวมเป็นเงินได้ในปี 2555 เพื่อคำนวณภาษีเช่นเดียวกับตัวอย่างแรก









ข้อมูลจากเรื่องขายผิดเงื่อนไข --อรพรรณ บัวประชุม, CFP

ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วน ธนาคารกสิกรไทย



http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A3_005.aspx





ทั้งนี้"กำไร"ที่ขาย LTF ในปีที่ครบเกณฑ์ตามเงื่อนไขนั้น


จะต้องเอาไปกรอกในในภาษีด้วย


หลายคนอาจจะสงสัยว่าไหนว่ายกเว้นแล้วทำไมต้องกรอก

ใน ภงด 90 จะมีช่องกรอกกำไรเฉพาะสำหรับ LTF


ทั้งนี้การกรอกในส่วนนี้ เนื่องจากยกเว้นภาษี จึงไม่ต้องนำมาคิด

แต่สามารถขยายฐานของคนที่ต้องการซื้อ LTF เพิ่มขึ้นได้อีก 15 %



ชอบที่ผู้เขียนเขียนว่า

"ถ้ามีคนมาถามว่า LTF ขายแล้วไปไหน

--ก็ให้ตอบว่าขายแล้วก็ไปลดหย่อยภาษีได้อีกนะตัวเทอว์'

ที่มา -- http://tax.bugnoms.com/tax/ltf-never-die/



****ตั้งแต่ปี 2559 มีการขยายรอบการถือ LTF ให้นานขึ้นเป็นเจ็ดปี หลักการนับก็เหมือนห้าปีเพียงแต่ถือยาวไปอีกสองปีปฏิทินเท่านั้น*****








KTC สิทธิประโยชน์

ประกันการเดินทางสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC  
 สมาชิกบัตรเครดิต KTC อุ่นใจกับความคุ้มครองจากประกันอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง   เมื่อชำระค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ยานพาหนะสาธารณะ และแพ็คเกจทัวร์ ด้วยบัตรเครดิต KTC ดังนี้   บัตรเครดิต KTC Visa Platinum วงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุจากการเดินทางสูงสุดถึง 8,000,000 บาท วงเงินประกันกระเป๋าเดินทางสูญเสีย หรือสูญหายจากการเดินทางในต่างประเทศสูงสุด 40,000 บาท 


พร้อม 5 บริการพิเศษ KTC Ultimate Platinum Assistance  จาก International SOS
 - บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ระหว่างการเดินทางต่างประเทศ 
- บริการช่วยเหลือด้านการเดินทางต่างประเทศ ทั่วโลก 24 ชั่วโมง
 - การบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนภายในประเทศไทย
 - บริการผู้ช่วยส่วนบุคคลทั่วโลก 
- บริการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินภายในบ้าน

 - See more at: http://testweb.ktc.co.th/ktcworld/Service/Insurance/Detail/index.htm?_contentID=025525#sthash.6GjS9yjP.dpuf

สำหรับสมาชิกบัตรที่กำลังเดินทางไปยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป   
ประกันการเดินทางเป็นข้อกำหนดในการขอวีซ่า   
หรือหากต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ  
 KTC World ขอแนะนำแผนประกันแบบวีซ่าโดย MONDIAL ASSISTANCE   
เริ่มต้นเพียง 280 บาท พร้อมส่วนลดพิเศษ   ส่วนลด 20%    สำหรับลูกค้าบัตร Infinite / World MasterCard   ส่วนลด 10%   
 สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต KTC ประเภทอื่นๆ   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World ศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกเคทีซี โทร. 0–2631–3444 กด 2 - See more at: http://testweb.ktc.co.th/ktcworld/Service/Insurance/Detail/index.htm?_contentID=025525#sthash.6GjS9yjP.dpuf

ขายรูปที่ไหนดี

หลังจากเริ่มที่ shutter stock ได้ 3 สัปดาห์แล้ว
มาเพิ่มฐานที่เวบอื่นกัน


ที่แรก istock
http://shutterok.com/content-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2iStockphoto.com-4-7970-1.html

ทำไมสมัครไม่ได้


อันต่อมา

https://www.dreamstime.com/dozabi_info

http://shutterok.com/content-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2Dreamstime.com-4-7983-1.html

ต่อมา
https://us.fotolia.com/?&utm_source=Google&utm_campaign=Fotolia_Asiat+Brand&tmplaceref=Asiat&tmad=c&tmcampid=6&utm_medium=cpc


ต่อมา
http://www.123rf.com/?src=googtrackad35&gclid=Cj0KEQjw5Ie8BRCJ9fHlr_bH24cBEiQAkoDQceDuHm6klkbpYjEshc7BJCsMH4-i2vBreYS2dVNACj4aAs1c8P8HAQ&gclsrc=aw.ds


แนะนำ
https://foto76-stock-photos.blogspot.com/2012/07/shutterstockcom.html?showComment=1468153477678#c5000541248989151165

คนนี้สรุปเทียบให้เลยเวบไหนดี
https://foto76-stock-photos.blogspot.com/2013/05/three-year-anniversary.html

http://www.freedigitalphotos.net/

วิธีกรอก ใบ model release ใน shutter stock

ก่อนอื่นเลย โหลดแบบฟอร์มกันมาก่อนน้า

http://submit.shutterstock.com/legal



form จะมีหน้าตาแบบนี้ค่ะ

สำหรับนางแบบ/นายแบบอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป

http://www.stockphotothailand.com/forums/viewtopic.php?f=11&t=1726

http://www.stockphotothailand.com/index.php/80-shutterstock-contibutor/77-model-release