Sunday, February 26, 2017

คิดภาษี 40 (6)

เมื่อไหร่จะเข้าข่าย วงเล็บ 6 ---นี่น่าจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในหัวเมื่อต้องจ่ายภาษี

แน่ล่ะวงเล็บ 6 นี้เอาเงินได้มาคิดภาษีเพียง 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น เรียกว่าลดฐานภาษีไปได้มากโข

------------------

เริ่มกันที่คิดเงินได้ ก็คือรายได้โดยรวมทั้งปี

หลังจากนั้นก้เอามาหักค่าลดหย่อนต่างๆ  แล้วยื่นภาษีทางเน็ตได้เลย

http://www.rd.go.th/publish/43571.0.html

เดี่ยวนี้เค้าสนับสนุนให้ยื่นทางอินเตอร์เนตเพื่อลดภาวะเอกสาร และสะดวกแก่ผู้จ่ายภาษี

แต่อย่างไรก็ดีต้องเก็บเอกสารไว้อย่างน้อย 5-10 ปีนะคะ เพราะทางสรรพากรอาจทำการสุ่มตรวจเพื่อขอดูเอกสารชี้แจงค่ะ

***ข้อดีของทางอินเตอร์เนตนั้นจะยืดเวลาให้มากกว่ายื่นโดยตรงอีกประมาณ 7 วัน แล้วแต่ปีด้วยค่ะ

--------------------------

ภาษีที่จ่ายกันบ่อยก็จะเป็น

ภงด.91 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้ เป็น เงินเดือน อย่างเดียว (ยื่นเสียภาษี 1 ครั้งต่อปี)

ภงด.90 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้หลายแบบ เช่น เงินเดือน ค่าอยู่เวร เปิดคลินิก
 (ยื่นเสียภาษี 2 ครั้งต่อปี)

ส่วนเรื่อง 40 วงเล็บต่าง ๆ 
40 (1) คือ ภาษีหมวดเงินเดือน หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
40 (2) เป็นหมวดเงินตอบแทนอย่างค่าอยู่เวรเหมารายเวร รายชั่วโมง
40 (6) เป็นหมวดสำหรับการประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์จะหักค่าใช้จ่ายได้ 60% 

หลักการคิดว่า วงเล็บไหน ก็คือ ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า “รัฐ” จึงให้หักต้นทุน ได้มากกว่า 

ตามมาตรา 40(6) ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ (หักค่าใช้จ่ายได้ 60%) เนื่องจาก เป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า จึงให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่มาตรา 40(1) 40(2) ทำงานรับเงินจากรัฐ หรือ นายจ้าง ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ความเสี่ยงก็น้อยกว่า จึงหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า (หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท)

ใน รพ.เอกชน ตอนนี้ สรรพากร จะให้เป็น 40(1) , 40(2) ที่หักค่าใช้จ่ายได้ 40% เนื่องจาก ไม่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุน ( ไม่ได้เป็นเจ้าของ) ยกเว้นทำเป็นหนังสือสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เนื่องจากการตีความของสรรพากรในแต่ละจังหวัดอาจไม่เหมือนกัน คงต้องสอบถามกับเพื่อนแพทย์ในจังหวัดเดียวกันด้วยว่าเสียภาษีอย่างไร



ที่มา---http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1329207530


แพทย์กับการเสียภาษีที่ถูกต้อง


เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ในการตรวจและแนะนำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินดังกล่าว ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอซ้อมความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้


1. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินตามมาตรา 50(1)


2. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแยกเป็น 2 กรณีดังนี้


(1) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะ ในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษา

ผู้ป่วย โดยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้จากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายล ักษณ์อักษร

(2) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะ ในนามของผู้ได้รับอนุญาต เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนผู้ได้รับอนุญาตให้ประก อบโรคศิลปะ แล้วนำมาจ่ายให้กับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เพื่อแบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป


ทั้งกรณี (1) และ (2) ให้ถือว่าเงินที่ผู้ได้รับอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ป่วย ทั้งจำนวน เป็นเงินได้

พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ มิใช่เฉพาะประมวลเงินส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออกแล ้ว


3. กรณีตาม 2 เนื่องจากสถานพยาบาลมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 7 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่องสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และไม่ต้องกรอกรายการจ่ายเงินดังกล่าวในบัญชีพิเศษตามประกาศอธิบดีกรมสรรพาก รเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีบัญชีพิเศษตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 6 กันยายน 2522



ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์

อธิบดีกรมสรรพากร





เวบไซต์

http://pantip.com/topic/31046925

No comments:

Post a Comment